วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

แบบฝึกหัดหน่วยที่ 6
1. บอกความหมายของ Data Dictionary
ตอบ     Data Dictionary คือ พจนานุกรมข้อมูล ที่แสดงรายละเอียดตารางข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูล (Database) ซึ่งประกอบด้วยรีเลชั่น (Relation Name), แอตทริบิวต์ (Attribute),ชื่อแทน (Aliases Name), รายละเอียดข้อมูล (Data Description), แอตทริบิวโดเมน (Attribute Domain), ฯลฯ  ทำให้สามารถค้นหารายละเอียดที่ต้องการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  พจนานุกรมข้อมูลเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบของพจนานุกรมโดยทั่วไปและรูปแบบของข้อมูลในระบบงานคอมพิวเตอร์  เพื่ออธิบายชนิดของข้อมูลแต่ละตัวว่าเป็น ตัวเลข อักขระ ข้อความ หรือวันที่ เป็นต้น  เพื่อช่วยในการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ในการอ้างอิงหรือค้นหาที่เกี่ยวกับข้อมูล  หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า Data Dictionary คือ เอกสารที่ใช้อธิบายฐานข้อมูลหรือการจัดเก็บฐานข้อมูล

2. สัญลักษณ์ของ Data Dictionary มีกี่สัญลักษณ์อะไรบ้าง
ตอบ     สัญลักษณ์ที่ใช้ในพจนานุกรมข้อมูล ได้แก่
=  หมายถึง  เท่ากับ
+  หมายถึง  และ
{} หมายถึง  มีการซ้ำของส่วนย่อยข้อมูล
[ l ] หมายถึง  ทางเลือกให้เลือกส่วนย่อยของข้อมูลตัวใดตัวหนึ่ง
()  หมายถึง  การเกิดขึ้นเป็นกรณีพิเศษ จะปรากฎหรือไม่ปรากฎก็ได้

3. ให้ยกตัวอย่างการใช้งานสัญลักษณ์ Data Dictionary อย่างละ 1 ตัวอย่าง
ตอบ

4. ให้เขียน Data Dictionary บัตรนักศึกษาซึ่งประกอบด้วย (รหัส คำนำหน้านามชื่อ-สกุลระดับชั้น ,แผนกวิชา)
ตอบ




5. ให้เขียน Data Dictionary ของลูกค้า ประกอบด้วย รหัส ชื่อสกุล ประเภทหน่วยงานที่อยู่
ถนน อำเภอ จังหวัด
ตอบ

ตอนที่ 2 จากโจทย์ต่อไปนี้ ให้นักศึกษาเขียน Data Dictionary
ห้าง เจริญศรี ประกาศลดราคาสินค้าประจำปีของห้าง โดยมีการลดราคาดังนี้
แผนกเสื้อผ้า ลดราคา 35 %
แผนกเครื่องเขียน ลดราคา 25 % ,
แผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต ลดราคา 15%
แผนกอื่น ลดราคา 10%
 พิเศษ : บิลซื้อ ต่อวัน รวมทุกแผนก ยอดครบ 500 บาท สามารถแลกของแถม ได้ 1 อย่าง
โดยมี ให้เลือกคือ แผ่นซีดีเพลง และ แผ่นหนัง
คำสั่ง : ให้ตอบคำถาม และเขียนภาพประกอบคำตอบ
1. เขียนสัญลักษณ์ แผนกทั้งหมดของห้าง
ตอบ
Department
(แผนก)
Department " (ชื่อแผนก)
แผนกเสื้อผ้า
- แผนกเครื่องเขียน
- แผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต
- แผนกอื่น
Discount
(ราคา/ส่วนลด)
Discount " (ราคาสินค้า)
ราคาเสื้อผ้า * 35/100
- ราคาเครื่องเขียน * 25/100
- ราคาสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต * 15/100
- ราคาสินค้าอื่น * 10/100
Trade
(แลกซื้อ)
Trade " (500 - ราคา/ส่วนลด)
แผ่นซีดีเพลง
- แผ่นหนัง

2. เขียนสัญลักษณ์ การตรวจสอบแผนก เพื่อลดราคา
ตอบ
แผนกสินค้า  =  ชื่อแผนกสินค้า
ราคาสินค้า  = ราคาสินค้า
ส่วนลด = ราคาสินค้า/ส่วนลด
แลกซื้อ = *ถ้ามี* 500 - ยอดรวมทั้งหมด {>500 "แลกซื้อไม่ได้",<500"แผ่นซีดีเพลง,แผ่นหนัง"}

3. เขียนสัญลักษณ์ การตรวจสอบบิลซื้อ
ตอบ
ใบซื้อสินค้า  วันที่ซื้อ
รายการ = แผนกสินค้า+ชื่อสินค้า+ราคาสินค้า
ส่วนลด  =  ราคาสินค้า/ส่วนลด
ยอดรวม = ราคาสินค้า/ส่วนลด
แลกซื้อ = *ถ้ามี*  500 – ยอดรวม {>500 "แลกซื้อไม่ได้",<500"แผ่นซีดีเพลง,แผ่นหนัง"}




4. เขียน Data Dictionary การได้รับของแถม
ตอบ


5. เขียน Data Dictionary ภาพรวมของการเลือกซื้อสินค้า ในห้าง
ตอบ

แบบฝึกหัดท้ายหน่อยที่ 4

1.      ให้บอกความหมายของการวิเคราะห์ระบบ
ตอบ ขั้นตอนค้นหาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบที่จะพัฒนา
ค้นหาปัญหาจากระบบงานและวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางพัฒนาปรับปรุง
ระบบงานให้ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลจากงานเดิมให้ดีขึ้นได้อย่างไร การวิเคราะห์ยัง
ต้องทำการศึกษาความต้องการของระบบงานใหม่ที่จะได้รับจากการพัฒนาในอนาคต
2.      อธิบายวิธีการการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์พร้อมยกตัวอย่างมา 3 วิธี
ตอบ 1) วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้คำตอบโดยตรง (Personal interview หรือ Face to face
interview) เป็นวิธีการที่ส่งเจ้าหน้าที่หรือพนักงานออกไปสัมภาษณ์ผู้ให้คำตอบอาจสัมภาษณ์ทาง
โทรศัพท์
 2) การศึกษาจากเอกสารประกอบรายงานเดิม เช่น รายงานยอดการขาย ยอดสั่งซื้อ และ
อื่น ๆ
3) วิธีการสังเกตการณ์เป็นวิธีเก็บข้อมูลโดยการสังเกตโดยตรงจากปฏิกิริยา ท่าทาง หรือ
เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่ง และจดบันทึกไว้โดยไม่มีการสัมภาษณ์
3. ให้บอกความหมายของเครื่องมือแผนภาพกระแสข้อมูล หรือ (Data Flow Diagram: DFD)พร้อมบอกสัญลักษณ์ของเครื่องมือว่ามีอะไรบ้าง
      ตอบ   เป็นแบบจำลองขั้นตอนการท างานของระบบ เพื่ออธิบายขั้นตอน
การท างานของระบบที่ได้จากการศึกษาในขั้นตอนก่อนหน้านี้
 แผนภาพจะแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลและอธิบาย
ความสัมพันธ์ในการดำเนินงานของระบบซึ่งจะทำให้ทราบว่า...
◦ ข้อมูลมาจากไหน
◦ ข้อมูลไปที่ไหน
◦ เกิดกิจกรรมใดกับข้อมูลบ้าง ในแต่ละขั้นตอนของระบบ
◦ จัดเก็บข้อมูลที่ไหนหรือส่งข้อมูลไปให้ที่ใด
4. ให้บอกความหมายของเครื่องมือ คำอธิบายข้อมูล (Data Description) หรือ Data
Dictionary พร้อมบอกสัญลักษณ์ของเครื่องมือว่ามีอะไรบ้าง
    ตอบ   เมื่อทำการรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็จะได้รับทราบว่าในระบบมีข้อมูลมากมายมีความจำเป็น
ที่ต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่ เช่น ข้อมูลของลูกค้า จะรวมข้อมูลรายละเอียด อื่นๆ เช่น เลขที่ลูกค้า ชื่อ
,ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ วิธีการจ่ายเงิน ประวัติการซื้อสินค้า เป็นต้น โดยมีเครื่องมือช่วยในการเก็บ
และอธิบายข้อมูล คือ พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
5. ให้บอกความหมายของเครื่องมือ การสร้างแบบจำลองระบบ (System Modeling)
พร้อมยกตัวอย่างมา 1 ตัวอย่าง
    ตอบ   แบบจำลอง คือ สัญลักษณ์ที่ใช้จำลองข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ เป็นแผนภาพที่
แสดงให้เห็นในแต่ละมุมมองของระบบแบบจำลองการวิเคราะห์คือ แบบจำลองที่เขียนขึ้นจากข้อกำหนดความต้องการของระบบสะท้อนให้เห็นถึงหน้าที่การท างานของระบบด้านต่างๆ และจะถูกนำไปใช้ในระยะการออกแบบต่อไป
 แบบจำลองประกอบด้วยรูปภาพสัญลักษณ์แสดงให้เห็นการท างานของระบบ หรือแสดงให้เห็นหน้าที่ของระบบโครงสร้าง และส่วนประกอบต่างๆ
 แบบจำลองเป็นสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ทั้งในด้านระบบและซอฟต์แวร์
6. ผังงานระบบ (System Flowchart) หมายถึงอะไร พร้อมยกตัวอย่างมา 1ตัวอย่าง
     ตอบ ผังงานระบบเป็นแผนภาพที่ใช้แสดงภาพที่ใช้แสดงการอินพุต เอาต์พุต และการประมวลผล
( Process) ของระบบในบางกรณีเราใช้ผังงานแสดงแทนแผนภาพแสดงข้อมูล ในบางกรณีก็ใช้ด้วยกัน
ตัวอย่างผังงานระบบสำหรับแก้ไขข้อมูลในจานแม่เหล็ก
7. การจัดโครงการ (Project Management) มีลักษณะและขั้นตอนการทำงานอย่างไร
    ตอบ  งานที่ต้องทำในการวิเคราะห์มีจำนวนมากจึงมีเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนงานที่เรียกว่า
แผนภาพแกนต์ชาร์ดจะมีรายเอียดของงานที่ทำและเวลาที่ปฏิบัติจริง
8. การสร้างแบบข้อมูล (Data Modeling) คืออะไร มีลักษณะอย่างไร
   ตอบ   การสร้างแบบข้อมูลก็คือการออกแบบฐานข้อมูลต้องการออกแบบว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไร
และการดังข้อมูลที่ใช้ทั้งหมดมีอะไรบ้าง ตัวอย่างฐานข้อมูลอาจจะเป็นแบบตารางธรรมดา (Relation
Database) และการดึงข้อมูลใช้โดยมีคีย์เป็นตัวใช้ค้นหาเป็นแบบอินเด็กซ์ไฟล์ (Index File) เป็นต้น
9. ให้อธิบายลักษณะของ แบบจำลองข้อมูล (Data Model)
    ตอบ  แบบจำลองข้อมูล คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
 เรียกว่า Entity Relationship Diagram
 หรือเรียกย่อๆ ว่า E-R Diagram
เป็นแผนภาพที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจำลองข้อมูล
 ประกอบด้วย Entity (กลุ่มของข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกัน)
 และ Relationship หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลใน entity
 ทุก Entity จะมี Attribute บอกลักษณะหรือคุณสมบัติ
10. จากรูปต่อไปนี้เป็นลักษณะของการใช้เครื่องมือใดของการวิเคราะห์ระบบ
     ตอบ เครื่องมือสำหรับจำลองข้อมูล
แบบฝึกหัดท้ายหน่วย 3 1. วงจรพัฒนาระบบ มีความสำคัญอย่างไร ตอบ เพื่อที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบงานทำได้ง่ายขึ้น 2. วงจรพัฒนาระบบแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง ตอบ วงจรการพัฒนาระบบจะแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การกำหนดปัญหา (Problem Definition) 2. การศึกษาความเป็นไปได้(Feasibility Study) 3. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 4. การออกแบบระบบ (System Design) 5. การสร้างระบบ (System Construction) 6. การติดตั้งระบบ SDLC (System Implementation) 7. การประเมินและการบ ารุงรักษาระบบ ( Post – implementation reviews and maintenance) 3. ให้อธิบายขั้นตอนการตระหนักถึงปัญหาในระบบ พร้อมยกตัวอย่าง 1 ปัญหา ตอบ 1 เป้าหมายในการทำโครงการทั้งหมด ซึ่งจะเป็นทิศทางของการทำโครงการ 2 ขอบเขตของโครงการในการกำหนดปัญหาหรือเข้าใจปัญหา จะต้องกำหนดกิจกรรมของ ระบบงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ กำหนดส่วนของระบบงานที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการทำ โครงการรวมทั้งข้อจำกัดเงื่อนไขต่างๆ ของการทำโครงการ 3 จำนวนเงินทุนที่ต้องใช้ในการจัดทำโครงการ รวมทั้งวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของการทำงาน ในแต่ละขั้นตอนอย่างคร่าวๆ และจำนวนบุคลากรที่คาดว่าจะต้องใช้ในแต่ละขั้นตอนด้วย 4. ให้อธิบายขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหาในข้อ 3 ตอบ ต้นไม้ที่ปลูกในกระถางต้องการพื้นที่มากขึ้น เพื่อให้ต้นไม้สามรถเจริญเติบโตต่อไปได้ กระถาง ใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้นสามารถวางกระถางไว้ในตำแหน่งเดิม 5. ให้อธิบายขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา ในข้อ 3 โดยแยกออกมาทั้งระบบเดิม และ ระบบใหม่มีข้อดี และข้อเสียอย่างไร ตอบ ระบบเดิม ข้อดี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ข้อเสีย ต้นไม้ในกระถางเดิม เหี่ยว ใบไม้ร่วงและรากโผล่ พ้นกระถาง ระบบใหม่ ข้อดี เปลี่ยนกระถางใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดี 6. ให้บอกความหมายของการออกแบบการแก้ปัญหาในข้อ 3 ตอบ 1.เลือกซื้อกระถางใบใหม่ 2.เตรียมปุ๋ยและดินเพื่อปลูก 3.อุปกรณ์ที่ต้องใช้ เสียม น้ำ 7. ให้บอกวิธีการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาในข้อ 3 ตอบ 1.ใช้น้ำรถในกระถางต้นไม้จนเปียกชุ่ม 2.ใช้เสียมแซะต้นไม้ออกจากกระถางไม้ 3.นำดินใหม่และปุ๋ยบางส่วนลงในกระถางใหม่ 4.นำต้นไม้ลงในกระถางใหม่ 5.นำดินและปุ๋ยใส่ให้เต็มกระถาง 6.นำกระถางจัดวางในตำแหน่ง 7.รดน้ำอีกครั้ง 8. ให้บอกความจำเป็นในการดูแลและรักษาระบบ ตอบ 1.ศึกษาความสามารถใช้งานตรงตามวัตถุประสงฆ์สนองต่อความต้องการของผู้ใช้ 2.ศึกษาผู้ใช้ความพึงพอใจและยอมรับการทำงานกับระบบใหม่มากน้อยเพียงใด 3.ศึกษาว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างไร โดยต้องกลับไปศึกษาวัตถุประสงฆ์หรือเป้าหมาของ โครงการได้วางไว้ 4.การประเมินผลการทำงานของระบบมักจะกำหนดไว้เป็นแนวทาง 9. ให้ยกตัวอย่าง ระบบการปฏิบัติงานบ้าน หรือ กิจวัตรประจ าวันมา 1 กิจกรรม พร้อมเขียนเป็นวงจรพัฒนาระบบทั้ง 7 ขั้น ( ตามตัวอย่าง 1 ) ตอบ ปัญหา 1.เสื้อผ้าไหม้ 2.เสื้อผ้าไม่เรียบ ศึกษาความเป็นไปได้ 1.รวบรวมเสื้อผ้า 2.คาดว่าเสื้อผ้าจะไม่ไหม้ วิเคราะห์ 1.รีดแบบใช้ไฟธรรมดา 2.ต้องการให้เสื้อผ้าเรียบ ออกแบบ 1.เลือกซื้อเตารีดระบบไอน้ำ พัฒนาระบบ 1.เตรียมเสื้อผ้า 2.รีดเสื้อผ้า ติดตั้งระบบ 1.สามารถปรับความร้อนตามที่เราต้องการได้ การบำรุงรักษา 1.ตากเสื้อผ้าในแดดในอุณหภูมิที่เหมาะสม 10.ให้ยกตัวอย่าง ระบบการตัดสินใจซื้อสินค้า / เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน ของนักศึกษา โดยเขียนเป็นวงจรการพัฒนาระบบ ในขั้นที่ 1 – 7 ( ตามตัวอย่าง 2) ตอบ ปัญหา 1.ตระหนักว่ามีปัญหาในระบบ ศึกษาความเป็นไปได้ 1.รวบรวมข้อมูล 2.คาดคะเนค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ และอื่นๆ วิเคราะห์ 1.ศึกษาระบบเดิม 2. ก าหนดความต้องการของระบบ 3. แผนภาพระบบเก่าและระบบใหม่ 4. สร้างระบบทดลองของระบบใหม่ ออกแบบ 1.เลือกซื้อเครื่องมือ/เครื่องใช้การปฏิบัติงาน 2. คำนึงถึงความปลอดภัยของระบบ พัฒนาระบบ 1.เตรียมอุปกรณ์ 2. เขียนโปรแกรม 3. ทดสอบโปรแกรม 4.เตรียมคู่มือการใช้ ติดตั้งระบบ 1.นำอุปกรณ์มาติดตั้งโปรแกรม 2.เริ่มใช้งานระบบใหม่ 3.กรอกข้อมูลและทดลองใช้งาน การบำรุงรักษา 1.เข้าใจปัญหา 2. ศึกษาสิ่งที่จะต้องแก้ไข 3. ตัดสินใจว่าจะแก้ไขหรือไม่ 4. แก้ไขเอกสาร คู่มือ 5. แก้ไขโปรแกรม 6. ทดสอบโปรแกรม 7. ใช้งานระบบที่แก้ไขแล้ว
               แบบฝึกหัดบทที่ 2
  ให้บอกความหมายของ ระบบสารสนเทศ
ตอบ  ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบพนักงานที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทางานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวมจัดเก็บข้อมูลประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร
2  2.         ให้ยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศที่มีใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างน้อย ชนิด
ตอบ 1. เเสกนบัตร 2. กล้องวงจรปิด 3. เครื่องแสกนเนอร์
3  3.  ให้บอกคุณสมบัติของสารสนเทศที่ควรนาใช้ อย่างน้อย 5 คุณสมบัติ
ตอบ 1) เชื่อถือได้ (Reliable) ความน่าเชื่อถือของสารสนเทศนั้นขึ้นอยู่กับการเก็บรวมรวมข้อมูลจากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้
2) เข้าใจง่าย (Simple) สารสนเทศที่ดีจะต้องไม่ซับซ้อน กล่าวคือ ง่ายต่อการทำความเข้าใจเพราะความซับซ้อนคือการมีรายละเอียดปลีกย่อยมากเกินไป
3) ทันต่อเวลา(Timely) ต้องเป็นสารสนเทศที่มีความทันสมัยอยู่เสมอเมื่อต้องการใช้เพื่อการตัดสินใจจะทำให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
4) คุ้มราคา (Economical) สารสนเทศที่ดีจะต้องผ่านกระบวนการที่มีต้นทุนน้อยกว่าหรือ
เท่ากับกำไรที่ได้จากการผลิต
5) ตรวจสอบได้ (verifiable) สารสนเทศที่ดีจะต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยอาจตรวจสอบจากแหล่งที่มาของสารสนเทศ เป็นต้น
4  4.   ให้ยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่ออำนวยความสะดวกใน
ชีวิตประจำวัน
ตอบ ATM


5  5.    องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ ให้เติมคำต่อไปนี้
5.1  ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตอบ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
5.2  ซอฟต์แวร์ หมายถึง ตอบ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน
5.3  ชนิดของซอฟต์แวร์ มี   2  ชนิด
ประกอบด้วย 1. ซอฟต์แวร์ระบบ
    2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
          5.4 ข้อมูล หมายถึง ตอบ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
            5.5 บุคลากรในระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย ตอบ ผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม
    6. จงอธิบายระบบสารสนเทศแบบระบบงานสร้างความรู้(Knowledge Work Systems - KWS)
ตอบ เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน
 7.ให้อธิบายระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)
ตอบ ระบบปัญญาประดิษฐ์ ระบบปัญญาประดิษฐ์ คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาที่จากวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
8. ให้บอกคุณลักษณะของนักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis :SA)
ตอบ 1. มีความชำนาญด้าน โปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมภาษาระบบฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
2. มีความเข้าใจในระบบธุรกิจระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
3. มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
9. ให้บอกหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis :SA)
ตอบ 1.รวบรวมข้อมูล
2.จัดทำเอกสาร ในระหว่างทำการพัฒนาระบบ
3.จัดทำพจนานุกรมข้อมูล
5. สร้างแบบจำลอง ทำการสร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอแก่ เจ้าของ    ระบบและผู้ใช้งาน
6.ทดสอบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยให้ผู้ใช้งานระบบเป็นผู้ทดสอบจะมีประสิทธิภาพ
7.ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบ ปรับเปลี่ยนระบบเดิมเป็นระบบใหม่
8.จัดทำคู่มือ จัดทำคู่มือและจัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ผู้ใช้ระบบ
10. ให้บอกความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบ
ตอบ โปรเเกรมเมอร์ เป็นผู้ที่สามารถจะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ต้องการ แต่มักจะไม่มีความรู้ความเข้าใจในระบบธุรกิจ ดังนั้น จึงมักมีช่องว่างระหว่าง ผู้ใช้งานซึ่งทำงานในระบบธุรกิจกับโปรแกรมเมอร์นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน และแก้ไขช่องว่างนั้น จึงมักมีช่องว่างระหว่าง ผู้ใช้งานซึ่งทำงานในระบบธุรกิจกับโปรแกรมเมอร์นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน และแก้ไขช่องว่างนั้น        

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5 1.สัญลักษณ์ของแผนภาพการไหลข้อมูลมี......4.....แบบ คือ             1.1. วงกลม แทน   การประมวลผล ( Process)    ...